ปั๊มคอนกรีต คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบัน ปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามา ทดแทนรถเข็น ,ลิฟท์, ทาวเวอร์เครน, สายพานลำเลียง และวิธีการลำเลียง อื่น ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปั๊มคอนกรีต สามารถตอบสนองความต้องการ ในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือในที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการ เทคอนกรีต โดยวิธีอื่น รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็ว ในการเทคอนกรีต เมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย
วิวัฒนาการของปั๊มคอนกรีต
แนวความคิดเกี่ยวกับลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อโดยอาศัยลูกสูบ ไปยังสถานที่ ที่ต้องการเทคอนกรีต เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 และแนวความคิด นี้ได้เกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ.2476 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการใช้ ปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงคอนกรีต สำหรับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ที่เมืองมินิโซต้า
หลังจากปี พ.ศ.2476 ถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2484) ได้มีการใช้ปั๊มคอนกรีตในการก่อสร้างบ้าง แต่ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะท่อ ที่ใช้มีขนาดใหญ่ คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว ทำให้มีน้ำหนักมาก ยากต่อการเคลื่อนย้าย,
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2488) ในยุโรป ปั๊มคอนกรีตได้ถูกนำมา ใช้อย่างกว้างขวางในการบูรณะประเทศ แต่ในสหรัฐอเมริกา ปั๊มคอนกรีตกลับไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ในการปั๊มคอนกรีต ยังไม่แน่นอน และยังคงใช้วิธีลองผิดลองถูกอยู่
ในปี พ.ศ.2500 ได้มีการนำปั๊มคอนกรีตแบบ 2 ลูกสูบ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้งาน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาปั๊มคอนกรีตมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2508 ได้มีปั๊มคอนกรีตแบบติดตั้งบนรถมาใช้งานเป็นเครื่องแรก
ภายหลังปี พ.ศ.2513 ปั๊มคอนกรีตได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะท่อขนส่งคอนกรีตได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง คือมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย และยังมีการพัฒนาปั๊มคอนกรีตแบบติดตั้งบนรถให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องติดตั้งท่อบ่อย ๆ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่ายอีกด้วย
จนกระทั่งปี พ.ศ.2525 ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศเยอรมันใช้ปั๊มคอนกรีตสำหรับลำเลียงคอนกรีต ประมาณ 50 % ของการใช้คอนกรีตในงานก่อสร้างทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น